การพิมพ์ระบบเฟล็กโซกราฟี (flexography)

Last updated: 8 พ.ย. 2565  |  12038 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การพิมพ์ระบบเฟล็กโซกราฟี (flexography)

หลักการพิมพ์ระบบเฟล็กโซนั้น แม่พิมพ์ทำด้วยยางบริเวณที่เกิดภาพจะนูน การทำแม่พิมพ์จะต้องทำแม่พิมพ์บนสังกะสีก่อนแล้วจึงเอาแผ่นแบกกาไลท์ (bakelite เป็นพลาสติกที่ทนความร้อนสูง) ไปทาบนแผ่นสังกะสี ที่กัดกรดเป็นแม่พิมพ์ เมื่อถ่ายแบบมาแล้วนำแผ่นยางไปอัดบนแผ่นแบกกาไลท์ (bakelite) จึงจะได้แม่พิมพ์ยางออกมา แม่พิมพ์ยางที่ได้เรียกว่า polymer plate ซึ่งเป็นยางสังเคราะห์ มีความเหมาะสมในการใช้งาน เพราะทนทานรับหมึกได้ดี หมึกที่ใช้เป็นหมึกเหลว อาจเป็นหมึกพิมพ์ระบบน้ำหรือตัวทำละลายก็ได้ มักแห้งตัวโดยการระเหย ต้องการแรงพิมพ์ต่ำเนื่องจากใช้แม่พิมพ์นุ่มและหมึกพิมพ์เหลว

ระบบการพิมพ์จะมีลูกกลิ้งยางจุ่มอยู่ในอ่างหมึก ทำให้ลูกกลิ้งถูกเคลือบด้วยหมึกแบบบาง ๆ ลูกกลิ้งจะพาหมึกมาติดที่ลูกกลิ้งเหล็ก (anilox roller ลักษณะเป็นลูกกลิ้งกราเวียร์แต่มีสกีน (หลุมหมึก) ร้อยเปอร์เซนต์) ลูกกลิ้งเหล็กนี้จะถ่ายถอดหมึกไปให้ลูกกลิ้งที่มีแม่พิมพ์ยางหุ้มอีกลูกหนึ่ง ซึ่งลูกกลิ้งนี้จะเป็นลูกกลิ้งที่มีลักษณะนูนบริเวณที่รับภาพ จากนั้นแม่พิมพ์ยางจะถ่ายทอดหมึกลงบนผิวของวัตถุ โดยมีลูกกลิ้งเหล็กอีกอันติดอยู่เป็นลูกกลิ้งกด คอยกดให้หมึกซึมไปที่ผิวของวัสดุอย่างทั่วถึง ภาพพิมพ์ที่ได้มีความคมชัดน้อย

การควบคุมคุณภาพการพิมพ์ระบบเฟล็กโซกราฟี ส่วนใหญ่จะเน้นควบคุมในเรื่องของการพิมพ์งานเหลื่อม อัน
เกิดจากการยืดตัวของแม่พิมพ์หรือวัสดุที่ใช้พิมพ์ซึ่งต้องชดเชยการยืดตัวในขั้นตอนการทำอาร์ตเวิร์ก การปรับแก้ไขการยืดตัว เนื่องจากแม่พิมพ์และวัสดุใช้พิมพ์ต้องใช้เวลามาก ถ้าใช้วัสดุใช้พิมพ์ต่างชนิดจะต้องควบคุมการพิมพ์เหลื่อมในลักษณะต่างกัน เพราะวัสดุใช้พิมพ์ที่ต่างกันจะมีการยืดตัวต่างกัน จึงต้องศึกษาลักษณะการยืดหดตัวของวัสดุใช้พิมพ์ประเภทต่าง ๆ เพื่อชดเชยในขั้นตอนการทำอาร์ตเวิร์ก


ข้อดีของการพิมพ์ด้วยระบบเฟล็กโซกราฟี มีดังนี้ คือ

1. แม่พิมพ์มีราคาถูกเมื่อเทียบกับการพิมพ์ในระบบอื่น ๆ
2. ผลิตสิ่งพิมพ์บนวัสดุสิ่งพิมพ์ได้หลากหลายประภท
3. การเตรียมพร้อมพิมพ์ท าได้ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อย
4. พิมพ์ภาพที่มีลวดลายต่อเนื่อง เช่น กระดาษห่อของขวัญ
5. หมึกพิมพ์เป็นแบบชนิดเหลว แห้งเร็ว สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ทันทีภายหลังการพิมพ์
6. การกระจายของหมึกพิมพ์บนวัสดุพิมพ์ได้ดีมาก เนื่องจากหมึกมีลักษณะเหลวและแม่พิมพ์ยืดหยุ่นตัว
7. การเก็บรักษาแม่พิมพ์มีวิธีและขั้นตอนการเก็บได้ง่าย


ข้อเสียของการพิมพ์ด้วยระบบเฟล็กโซกราฟี มีดังนี้ คือ
1. เกิดการยืดตัวของแม่พิมพ์และวัสดุที่ใช้พิมพ์ ต้องมีการชดเชยการยืดตัวในขั้นตอนในการทำอาร์ตเวิร์ค
2. การปรับแก้ไขการยืดตัวของแม่พิมพ์ทำได้ยากและใช้เวลามาก
3. การควบคุมค่อนข้างเป็นไปได้ยาก เนื่องจากความแตกต่างของวัสดุแต่ละประเภทที่นำมาใช้เป็นวัสดุพิมพ์
4.ภาพที่เกิดบนวัสดุที่ใช้พิมพ์จะมีความชัดเจนที่น้อยกว่าการพิมพ์ระบบอื่น ๆ


บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยระบบเฟล็กโซก็ได้แก่ กล่องกระดาษลูกฟูก ถุงกระดาษ ถุงปูนซีเมนต์ ถุงใส่ปุ๋ย ถุงพลาสติกใหญ่ๆ กล่องนม UHT เป็นต้น...

 

 Back to all Blog


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้