Last updated: 4 ก.ย. 2567 | 10417 จำนวนผู้เข้าชม |
การพิมพ์ออฟเซตเป็นการพิมพ์พื้นราบ (ชนิดแผ่น) ที่ใช้หลักการที่ว่าน้ำกับไขมันไม่รวมตัวกันในการสร้างงานพิมพ์ที่ต้องการ พูดง่าย ๆ ก็คือ การสร้างเยื่อน้ำไปเกาะอยู่บนบริเวณไร้ภาพของแผ่นเพลทแม่พิมพ์ เมื่อรับหมึกพิมพ์ หมึกพิมพ์จะไม่เกาะน้ำแต่จะไปเกาะบริเวณที่เป็นภาพ และนี่เป็นขั้นตอนในการสร้างเทมเพลตสำหรับพิมพ์อาร์ตเวิร์ค
ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การพิมพ์ออฟเซตเป็นการพิมพ์ที่กระดาษหรือวัสดุพิมพ์จะไม่สัมผัสกับแม่พิมพ์โดยตรง งานดีไซน์หรืออาร์ตเวิร์คที่ออกแบบไว้จะถูกพิมพ์ลงบนกระดาษผ่าน ลูกโมยาง (Rubber-covered cylinder) เมื่อลูกโมยางรับหมึกจากแม่พิมพ์แล้วก็จะนำไปพิมพ์ติดบนแผ่นกระดาษ ซึ่งจะทำให้ได้งานพิมพ์ที่มีคุณภาพสูง ข้อดีของงานพิมพ์ระบบออฟเซตนอกจากได้งานพิมพ์ที่ชัดเจน สวยงามแล้ว ยังสามารถพิมพ์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย และยิ่งพิมพ์จำนวนมากเท่าไรก็จะยิ่งราคาถูกลง
การพิมพ์สีในระบบออฟเซตนั้น ในการพิมพ์แต่ละสีต้องใช้เพลทแม่พิมพ์หนึ่งอัน ดังนั้นการพิมพ์ 4 สี (CMYK)ก็ต้องใช้เพลตแม่พิมพ์ 4 อัน การพิมพ์ภาพ 4 สี สามารถทำได้อย่างสะดวก เพราะสามารถปรับตำแหน่งของแม่พิมพ์และกระดาษให้ลงในตำแหน่งที่ตรงกันของแต่ละสีได้ง่าย ตรงตามไฟล์อาร์ตเวิร์คที่ออกแบบไว้
Photo Credit : zeepackaging.com
เครื่องพิมพ์ออฟเซตมีขนาดใหญ่และราคาแพงมาก ค่าบำรุงรักษาก็ไม่ใช่น้อย การตั้งค่าและการปรับใช้ในแต่ละงานพิมพ์ก็ใช้เวลาค่อนข้างนาน นอกจากนั้นการสร้างเพลทแม่พิมพ์ในแต่ละงานก็มีราคาค่อนข้างแพง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือการพิมพ์ออฟเซตมีต้นทุนคงที่สูง จะคุ้มก็ต่อเมื่อพิมพ์ในปริมาณมาก แต่ก็มีต้นทุนผันแปรอยู่ในระดับต่ำมาก หากพิมพ์ในปริมาณที่เยอะมากก็จะทำให้ได้ราคาที่ถูกลง หากต้องการพิมพ์จำนวนน้อยก็จะเหมาะกับการพิมพ์ด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ที่ใหม่และทันสมัยที่สุด คุณภาพงานพิมพ์ไม่ดีเท่าการพิมพ์ออฟเซต การพิมพ์ในปริมาณน้อยควรเลือกพิมพ์ระบบดิจิตอลเพราะมีราคาถูกกว่า แต่หากต้องการพิมพ์ในปริมาณมากก็จะเหมาะกับการพิมพ์ออฟเซตเนื่องจากพิมพ์ได้รวดเร็วกว่าและคุณภาพดีกว่า
เครื่องพิมพ์ออฟเซต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เครื่องพิมพ์ป้อนแผ่น (sheet-fed) และเครื่องพิมพ์ชนิดป้อนม้วน (web offset) โดยเครื่องพิมพ์ป้อนแผ่น (sheet-fed) เหมาะกับงานพิมพ์ขนาดกลางที่อาร์ตเวิร์คพิมพ์บนชีทกระดาษที่ยังไม่ถูกตัด อย่างเช่น กระดาษขนาด B0, B1, หรือ B2 ส่วนเครื่องพิมพ์ชนิดป้อนลูกม้วน (web offset) เหมาะกับงานพิมพ์อย่างเช่น หนังสือพิมพ์ สมุดโทรศัพท์ หรือแคตตาล็อก ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ด้วยความเร็วสูงและมีปริมาณการพิมพ์มากในเวลาจำกัด อีกทั้งกระดาษม้วนมีราคาถูกกว่าอีกด้วย
ข้อดีของการพิมพ์ด้วยระบบออฟเซต มีดังนี้
1. พิมพ์สีพื้นทึบบริเวณภาพที่กว้างใหญ่ได้สีที่เรียบ เมื่อเปรียบเทียบกับระบบอื่น ๆ
2. ใช้เวลาน้อยในงานเตรียมพิมพ์สำหรับผู้ที่มีความชำนาญในการควบคุมเครื่อง
3. การเก็บและจัดหาพื้นที่เก็บแม่พิมพ์ค่อนข้างเป็นไปได้ง่ายเพราะเป็นแผ่นแบนราบ
4. ความนุ่มของผ้ายางทำให้สามารถพิมพ์บนวัสดุสิ่งพิมพ์ที่มีพื้นผิวหยาบได้
5. จุดบริการผลิตสิ่งพิมพ์มีแพร่หลายจึงหาแหล่งผลิตงานได้ไม่ยาก
6. เป็นงานพิมพ์ที่มีความละเอียดสูงมาก หากมีการควบคุมคุณภาพที่ดี จะได้งานพิมพ์ที่เหมือนจริงมาก
ข้อเสียของการพิมพ์ด้วยระบบออฟเซต มีดังนี้
1. การควบคุมการผลิตมีความยุ่งยากซับซ้อนระหว่างน้ำกับหมึกบนแม่พิมพ์ ต้องใช้ความรู้ และทักษะความชำนาญของช่างพิมพ์
2. การสูญเสียของกระดาษมากกว่าการพิมพ์ในระบบอื่น ๆ เนื่องจากปัญหาการปรับสมดุลการป้อนหมึกและน้ำ
3. การควบคุมอุณหภูมิห้องพิมพ์ต้องมีความระมัดระวังสูง เพราะระบบพิมพ์นี่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ จะทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ในห้องสูง มีผลทำให้กระดาษยืดหดตัวได้สูง......
Cr. lertsil.com
Cr. gogoprint.co.th
Cr. http://www.digitalschool.club/digitalschool/art/art1_2/lesson2/content2_3/pemtem1.php
13 ก.ค. 2567
11 ก.ค. 2567
10 ก.ค. 2567
11 ก.ค. 2567