การเลือกความหนากระดาษ เป็นคุณสมบัติในการบรรจุสินค้าทั้งความแข็งแรงและความสะดวกต่อการขนย้าย รวมถึงค่าใช้จ่ายอีกด้วย ความหนากล่องที่มากจะช่วยเรื่องการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากเพื่อความปลอดภัยของสินค้าในการขนย้ายทางไกล ส่วนกล่องที่มีความหนาน้อยจะทำให้กล่องนั้นขึ้นรูปง่ายมีความสวยงามอีกทั้งทำให้ราคากระดาษถูกลงอีกด้วย แต่อาจจะสามารถบรรจุสินค้าที่มีน้ำหนักจำกัด หรือ สินค้าที่เป็นแบบ 1:1
แผ่นกระดาษลูกฟูก ประกอบด้วย 2 ส่วนประกอบหลัก คือ
กระดาษแผ่นเรียบ ( Liner Board ) - คือ กระดาษแผ่นเรียบที่ติดอยู่กับลอนลูกฟูก
ลอนลูกฟูก ( Corrugated Medium ) - คือ ส่วนของกระดาษที่มีลักษณะเป็นคลื่น และอยู่ติดกับแผ่น Liner board
ความแข็งแรงของกระดาษทั้งสองชนิดนี้จะมีผลต่อความแข็งแรงของแผ่นกระดาษลูกฟูก สำหรับการพิมพ์แบบ Flexo (การพิมพ์แบบมีบล๊อกพิมพ์) นั้นจะพิมพ์ลงบนกระดาษคราฟท์ ส่วนการพิมพ์แบบ Offset นั้นนิยมพิมพ์ลงบนกระดาษกล่องแป้ง หรือกระดาษอาร์ตการ์ด แล้วค่อยนำไปปะกบกับลอนลูกฟูกอีกที
ชนิดของลอนลูกฟูก
ชนิดของลอนลูกฟูกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีด้วยกัน 3 ชนิด (นับตามจำนวนชั้นของกระดาษ) มีด้วยกันดังนี้
แผ่น 3 ชั้น
จะประกอบด้วยกระดาษแผ่นเรียบ 2 แผ่น ปะกบกับลอนลูกฟูก 1 แผ่น โดยลอนลูกฟูกจะอยู่ตรงกลางระหว่างกระดาษแผ่นเรียบทั้ง 2 ซึ่งมักใช้กับสินค้า ที่มีน้ำหนักปานกลาง หรือไม่เน้นความแข็งแรงมากนัก ลอนมาตรฐานที่ใช้คือ B, C และ E
แผ่น 5 ชั้น
จะประกอบด้วยกระดาษแผ่นเรียบ 3 แผ่น ปะกบกับลอนลูกฟูก 2 แผ่น วางสลับกัน โดยกระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ติดกับผิวกล่องด้านนอกจะเป็นลอน B เพื่อประโยชน์ทางด้านการพิมพ์ และกระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ด้านในจะเป็นลอน C เพื่อประโยชน์ทางด้านการรับแรงกระแทก จะนิยมใช้สำหรับสินค้าที่ต้องการการป้องกันสูง หรือสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ลอนมาตรฐานที่ใช้คือ B และ C (ลอน B จะอยู่ด้านนอก ส่วนลอน C จะอยู่ด้านใน)